ค่าส่วนกลาง ไม่จ่ายได้หรือไม่

ค่าส่วนกลาง ไม่จ่ายได้หรือไม่

ค่าส่วนกลาง ไม่จ่ายได้หรือไม่

การซื้อที่พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมต้องยอมเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ นิติบุคคล ซึ่งติดมากับกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย โดยค่าส่วนกลางเป็นงบประมาณสำหรับการดูแล อาคารสถานที่  สิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภคส่วนกลาง ซึ่งลูกบ้านทุกคนต้องปฏิบัติตาม ไม่จ่ายไม่ได้ นิติบุคคลมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกลายเป็นเรื่องใหญ่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลและสุดท้ายเจ้าของบ้านก็ต้องแพ้คดี

การเรียกเก็บค่าส่วนกลางมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของบ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมนั้น ๆ โดยนิติบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางจากลูกบ้านในโครงการทุกหลัง ไม่ว่าจะอยู่อาศัยหรือไม่ก็ต้องจ่ายทุกครัวเรือน สำหรับการคำนวณค่าส่วนกลางมักจะคำนวณจากพื้นที่ของบ้านหรือห้องชุด และประเมินจากทรัพย์สินส่วนกลาง หากมีพื้นที่มาก สวนหย่อมกว้าง พรั่งพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากเท่าไร ค่าส่วนกลางจะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น นอกจากเป็นงบประมาณใช้ในการดูแลทรัพย์สินของโครงการแล้ว ยังเป็นเงินส่วนที่จ่ายเดือนพนักงานฝ่ายนิติบุคคล ค่าจ้างแม่บ้าน ช่าง ซ่อมบำรุง คนสวน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานธุรการ และอื่น ๆ

หากลูกบ้านเบี้ยวค่าส่วนกลาง จัดเก็บเงินงบประมาณได้ไม่ตรงตามเป้าหมายทำให้เกิดความบกพร่องด้านการรักษาความปลอดภัย คนงานไม่มาเก็บขยะ ถนนชำรุดขาดการซ่อมบำรุง กิ่งไม้รุกล้ำทางเดินและถนน สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการขาดการดูแลทำให้ชำรุดง่ายและเสียหายสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทุกหลังคาเรือนต้องรับผิดชอบจ่ายค่าส่วนกลางเพื่อดูแลสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะให้มีสภาพที่ดีอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นผลกระทบจากปัญหาทรัพย์สินส่วนกลางขาดการดูแลและทรุดโทรมไปเรื่อย ๆ เพราะจัดเก็บค่าส่วนกลางไม่ครบทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ เมื่อต้องการปล่อยเช้าหรือขาย

นอกจากสัญญาซื้อขายบ้านจะระบุถึงหน้าที่จ่ายค่าส่วนกลางแล้ว กฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินยังระบุให้นิติบุคคลมีอำนาจดำเนินการและยื่นฟ้องลูกบ้านหนีหนี้ไม่ยอมจ่ายเงินค่าส่วนกลาง ตามลำดับดังนี้

-เริ่มจากการตักเตือนทวงถามก่อน หากยังไม่จ่ายให้ตรงตามกำหนดอาจถูกเรียกเก็บค่าปรับล่าช้าตั้งแต่ 10%-20% ของยอดค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย

-ในกรณีที่ค้างชำระเกิน 3 เดือนแล้วยังไม่ยอมจ่าย นิติบุคคล มีอำนาจตัดน้ำ ตัดไฟ ยกเลิกสติกเกอร์จอดรถ ตัดสิทธิการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกใน อาคารสถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น ๆ หรือยกเลิกคีย์การ์ดในการเข้า-ออกจากคอนโดหรือหมู่บ้าน เป็นต้น

-หากค้างชำระเกิน 6 เดือน ในกรณีต้องการขายห้องชุดหรือขายบ้าน เจ้าของจะถูกอายัดไม่ให้จดทะเบียนสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้จนกว่าจะจ่ายหนี้ค่าส่วนกลางทั้งหมด พร้อมค่าปรับและดอกเบี้ยครบถ้วน โดยนิติบุคคลจะทำหนังสือแจ้งกรมที่ดินไปก่อนว่าบ้านหลังนั้นค้างหนี้เงินค่าส่วนกลาง หากมีการซื้อขายไปแล้ว นิติบุคคลสามารถยื่นฟ้องได้เฉพาะเจ้าของเดิมเท่านั้น เจ้าของใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับหนี้สินค้างชำระค่าส่วนกลางของห้องชุดหรือบ้านหลังนั้นแต่อย่างใด

ช่องทางการติดต่อ

FB : Property Management Service

Website : https://pmserviceth.com/

Share :

บทความอื่นๆ

PM Coke แนะนำโครงการบ้านใหม่ โปรดี ทำเลเยี่ยม 01

แนะนำโครงการบ้านใหม่ คอนโดใหม่ โปรดี ทำเลเยี่ยม เหมาะกับคนฝันอยากมีบ้านหลังแรก

รวมโครงการบ้านใหม่ โปรดี ทำเลเยี่ยม เหมาะกับคนฝันอยากมีบ้านหลังแรก ให้เลือกซื้อบ้านได้ถูกใจความต้องการในการใช้ชีวิต

ดูเพิ่มเติม
Pm. Coke 4 ประเภทคอนโดตามราคา ที่แบ่งระดับ 01

4 ประเภทคอนโดตามราคา ที่แบ่งระดับของผู้ซื้อคอนโด ผู้เช่าคอนโดได้ 2024

4 ประเภทคอนโดตามราคา ที่แบ่งระดับของผู้ซื้อคอนโด ผู้เช่าคอนโดได้ในปี 2024 ที่สามารถส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตได้ 1. คอนโดมิเนียมราคาประหยัด 2. คอนโดมิเนียมราคาปานกลาง

ดูเพิ่มเติม
Pm Coke.รู้ไวก่อนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด 01

รู้ไว้ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด/ที่ดิน จะต้องทำอย่างไร มีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง 2024

การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด/ที่ดินจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเจ้าของเก่าได้ทำการขายห้องชุดคอนโด/ที่ดินให้กับเจ้าของใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนเงินตราเข้ามาแล้วแทนด้วยชื่อของเจ้าของใหม่

ดูเพิ่มเติม